2. การพูด






การพูดหมายถึงพฤติกรรมในการสื่อความหมายของมนุษย์ โดยการเปล่งเสียงเป็นถ้อยคา (วัจนภาษา) ขณะเดียวกันก็มีการใช้ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคา (อวัจนภาษา) ประกอบ วิชาที่เกี่ยวกับการพูดอาจเรียกต่าง ๆ กันไป เช่น การพูด ศิลปะการพูด วาทการ และวาทวิทยา เป็นต้น



1.  ความรู้พื้นฐานในการพูด
เพื่อให้การพูดประสบความสำเร็จ ผู้พูดควรมีความรู้พื้นฐานในการพูด ดังต่อไปนี้

ประเภทของการพูด
ประเภทของการพูดแบ่งตามลักษณะการพูดได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา การพูดโทรศัพท์ การแนะนำตัว การซักถาม การตอบคำถาม เป็นต้น     ผู้พูดต้องฝึกฝนให้เป็นผู้ที่พูดได้ถูกต้อง น่าฟัง และเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
2. การพูดอย่างเป็นทางการ หมายถึง การพูดอย่างเป็นพิธีการในที่ประชุม หรือ การพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่าง ๆ และเพื่อจุดหมายต่าง ๆ ต้องอาศัยความรู้ความสามารถและมีศิลปะในการพูด การพูดอย่างเป็นทางการ เช่น การปาฐกถา การอภิปราย บรรยาย การกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น

รูปแบบของการพูด
การพูดมีหลายแบบ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการพูด ผู้พูดควรเลือกแบบการพูดให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการพูดแต่ละครั้ง แบบของการพูดมีดังนี้
1. การพูดบอกเล่าหรือบรรยาย หมายถึง การพูดที่มุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง เช่น การพูดอบรม ปฐมนิเทศ ชี้แจงระเบียบ ข้อบังคับ สรุป รายงาน การสอน การเล่าเรื่อง เล่าประสบการณ์ การแนะนำวิทยากร การพูดตามมารยาทสังคมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การกล่าวต้อนรับ แสดงความยินดี อวยพร เป็นต้น
2. การพูดจูงใจหรือโน้มน้าวใจ หมายถึง การพูดที่มุ่งให้ความรู้ ความคิด ปลุกเร้า ให้ผู้ฟังคิดตาม เชื่อถือ คล้อยตาม และปฏิบัติตาม วิธีการพูดต้องสอดใส่อารมณ์ กิริยาท่าทาง ความรู้สึกที่จริงใจ ลงไป เช่น การพูดจูงใจให้คนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การโน้มน้าวชักชวนให้คนประท้วงหรือเดินขบวน โน้มน้าวให้คนบริจาคเงิน บริจาคโลหิต จูงใจให้ซื้อสินค้า เป็นต้น
3. การพูดจรรโลงใจหรือการพูดเพื่อความบันเทิง หมายถึง การพูดที่มุ่งให้ความสนุกสนาน รื่นเริง ขณะเดียวกันก็ได้สาระ หรือได้แง่คิดบางประการด้วย เช่น การเล่านิทาน การเล่าเรื่องตลก ขำขัน ปัจจุบันมีการพูดแบบนี้ในที่สาธารณะและมีผู้สนใจฟังเป็นจำนวนมาก
ในการปฏิบัติ แม้ว่าผู้พูดจะเน้นหนักไปในการพูดแบบใดแบบหนึ่งแต่ก็สามารถนำการพูดทั้ง 3 แบบ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเนื้อหา เพื่อให้การพูดครั้งนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ
  
วิธีการพูด
วิธีการพูด จำแนกได้ดังนี้
1. พูดแบบฉับพลัน หรือพูดแบบกะทันหัน คือ การพูดที่ผู้พูดไม่มีโอกาส หรือไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า ประสบการณ์ ความรู้ ความคิด และปฏิภาณ   ไหวพริบ จะช่วยให้ผู้พูด พูดได้ดีในชีวิตประจำวันเราอาจต้องพูดแบบนี้เสมอ ๆ เช่น ในการโต้ตอบสนทนา การให้สัมภาษณ์ เป็นต้น
2. พูดแบบอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ วิธีนี้นิยมใช้แบบเป็นทางการ เช่น การกล่าวรายงาน แถลงการณ์ กล่าวเปิด กล่าวปิดงาน กล่าวตอบในพิธีการต่างๆ การกล่าวถวายรายงานเฉพาะพระพักตร์เป็นต้น
3. การพูดแบบท่องจำ บางครั้งเราจำเป็นต้องจำข้อความบางอย่างไปใช้อ้างหรือใช้พูด เช่น โคลง กลอน บทกวีต่าง ๆ คำคม ภาษิต ตัวเลข สถิติ เราสามารถนาสิ่งเหล่านี้ไปประกอบการพูดได้ตามความเหมาะสม
4. พูดจากความเข้าใจโดยมีการเตรียมตัวล่วงหน้า การพูดจากความเข้าใจ คือการพูดจากความรู้ ความสามารถ ความรู้สึกของผู้พูด และจะพูดได้ดียิ่งขึ้นถ้าได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ผู้ที่คิดว่ายังมีความรู้ความสามารถน้อยก็จะสามารถพูดได้ดีถ้าได้มีโอกาสเตรียมตัวและฝึกฝน

องค์ประกอบของการพูด
การพูดคือ พฤติกรรมในการสื่อสาร องค์ประกอบของการพูดจะเป็นไปในทำนองเดียวกับองค์ประกอบของการสื่อสาร นั่นคือมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญคือ
1. ผู้พูด คือ ผู้ส่งสาร (sender)
2. เรื่องที่พูด คือ สาร หรือเนื้อหาสาระ (message)
3. ภาษา คือสื่อ(media) หรือเครื่องมือที่ถ่ายทอดสาร ทั้งภาษาที่ใช้ถ้อยคำ (วัจนภาษา) และภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (อวัจนภาษา) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการพูด เช่น ไมโครโฟนคอมพิวเตอร์ สื่อ power point แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ
4. ผู้ฟัง คือ ผู้รับสาร (receiver)
นอกจากนั้นองค์ประกอบของการพูดยังหมายรวมถึงผล (effect) ที่เกิดจากการพูด เช่น ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก ปฏิกิริยาตอบสนอง (feedback) ที่ผู้ฟังแสดงออก เช่น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ชื่นชม ดีใจ เสียใจ และสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ในการพูด เช่น สถานที่ เวลา และโอกาสอีกด้วย

อวัจนภาษาในการพูด
การพูดที่ดีนอกจากวัจนภาษา (verbal language) คือถ้อยคำภาษาที่สื่อสารเนื้อหาสาระต่างๆ แล้วสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้การพูดประสบความสาเร็จ ก็คืออวัจนภาษา (non-verbal language) ซึ่งจะช่วยสื่อความหมาย ช่วยให้การพูดเป็นธรรมชาติ ช่วยเน้นให้มีน้าหนัก และช่วยให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นศรัทธาในตัวผู้พูด อวัจนภาษาที่สำคัญในการพูดมีดังนี้
1. การเดิน ควรเดินอย่างกระฉับกระเฉงมั่นใจ มีชีวิตชีวาไม่เนิบเนือยแต่ไม่ เร่งรีบลุกลน ท่าเดินที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การเดินวางก้ามแบบนักเลงโต เดินตัวลีบกระมิดกระเมี้ยน ประหม่าอาย หลุกหลิก แกว่งแขนมากเกินไป นวยนาดแบบนางละคร เดินหลังงอ เล่นหรือตามสบายเกินไป
1.1 การเดินไปสู่ที่พูด ควรเดินช้า ๆ มั่นใจ เมื่อถึงที่พูด ควรหยุดเล็กน้อย กวาดสายตาไปทั่ว ๆ ผู้ฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใส แล้วจึงเริ่มปฏิสันถารหรือทักทายผู้ฟัง
1.2 การเดินระหว่างพูด ทำได้บ้าง ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด เช่น ก้าวไปข้างหน้า หมายถึงย้ำเน้น ชี้จุดสำคัญ ถอยหลัง หมายถึง ชะงัก ลังเล หรือคิดทบทวน ก้าวไปข้าง ๆ แสดงการเปรียบเทียบ การเดินระหว่างพูดช่วยดึงดูดความสนใจของผู้พูด แก้ความจำเจ แต่ถ้าเดินมากเกินไปผู้ฟังจะมึนงง และไม่ควรหันหลังให้ผู้ฟังขณะเดินกลับจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
                        1.3 การเดินกลับ ควรเดินอย่างช้า ๆ และมั่นใจเช่นเดียวกัน
            2. การยืนและการนั่ง การยืนและการนั่ง จะต้องมีการทรงตัวที่สง่างาม ผึ่งผาย ช่วยให้ผู้ฟังศรัทธา การทรงตัวที่ดี ลำตัวจะต้องตั้งตรง หลังตรง ไหล่ตรง เก็บพุง ดูสบาย และเป็นธรรมชาติ
                        2.1 การยืน ควรยืนสบาย ๆ วางเท้าให้เหมาะสม ไม่ห่างเกินไป หรือชิดเกินไป ส้นเท้าชิด หรือห่างเล็กน้อย ปลายเท้าห่างพอสมควร น้ำหนักลงที่ก้อนเนื้อกลมถัดจากหัวแม่เท้า ไม่ยืนเขย่งหรือน้ำหนักลงที่ส้นเท้า ท่ายืนที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น ท่าตรงแบบทหาร เพราะไม่เป็นธรรมชาติ ท่าพักขา หรือหย่อนขาข้างใดข้างหนึ่ง เพราะดูลำลอง สบาย ๆ เกินไป ท่าทิ้งสะโพกไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือสลับกัน เพราะเสียการทรงตัวและดูตลก ท่านางแบบ ท่าไหล่ทรุด คอเอียง หลุกหลิก โยกหน้า-หลัง พิงโต๊ะ-เก้าอี้ หรือแท่นพูด ฯลฯ
                        2.2 การนั่ง นั่งในท่าสง่างาม หลังตรง วางเท้าให้เหมาะสม สุภาพสตรีควรเอียงขาไปข้างใดข้างหนึ่งหรือไขว้ปลายเท้า ไม่นั่งไขว่ห้าง นั่งให้เต็มสะโพก เท้ายันพื้น
            3. การใช้กิริยาท่าทาง กิริยาท่าทางที่สัมพันธ์กับการพูดมีดังนี้
                        3.1 การเคลื่อนไหวศีรษะและลำคอ สื่อความหมายบางประการดังนี้ ศีรษะตั้งตรง หมายถึง กล้าหาญ มั่นคง มั่นใจ ภูมิใจ มีอำนาจ ผงกศีรษะ หมายถึง ยอมรับ เห็นด้วย โน้มศีรษะไปข้างหน้า หมายถึง เคารพ ขอร้อง ขอความเห็นใจ ผงะศีรษะไปข้างหลัง หมายถึง ตกใจ สะดุ้ง สั่นศีรษะ หมายถึง ปฏิเสธ ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมรับ ก้มศีรษะ หมายถึง ขวยอาย สงบ ปลง สุภาพ เอียงศีรษะ หมายถึง คิด สงสัย ไม่แน่ใจ เป็นต้น
                        3.2 การแสดงสีหน้า การแสดงสีหน้าจะสอดคล้องกับน้ำเสียง ท่าทาง และดวงตา เช่น ยิ้ม เศร้า ตกใจ ร่าเริง สงสัย เสียใจ สีหน้าโดยทั่วไป ควรยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตรกับผู้ฟัง
3.3 การใช้ท่ามือ ช่วยเน้นย้ำหรือขยายความเข้าใจ ท่ามือมีหลายแบบ เช่น หงายมือแล้วค่อย ๆ เคลื่อนไปสู่ผู้ฟัง เป็นการแสดงความรู้สึกเป็นมิตร ยกย่อง หรือเชื้อเชิญ แบมือทั้งสองข้าง หมายถึง สูญเสีย หมดหวัง ยกมือตั้งสั่น หมายถึง ปฏิเสธ คว่ำมือแล้วลดมือลง แสดงการขอร้องให้สงบ ขอให้ช้าลงหรือแสดงระดับสูง-ต่ำ ตะแคงมือแล้วเคลื่อนมือไปทางซ้ายหรือขวา แสดงถึงการแบ่ง ตะแคงมือตั้งบนฝ่ามือ แสดงการตัดแบ่ง กำมือแสดงถึงความมั่นคง เอาจริงเอาจัง ชี้นิ้วแสดงถึงลักษณะเฉพาะเจาะจง เน้น ตักเตือน หรือบอกทิศทาง  เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีการใช้มือและแขนแสดงขนาดเล็ก ใหญ่ สูง ต่ำ แสดงรูปร่าง กลม เหลี่ยม แสดงจานวน เช่น 1, 3, 5 และระดับมือที่ใช้มีอยู่ 3 ระดับคือ สูง ระดับไหล่ขึ้นไป กลาง ระดับเอวถึงไหล่ และต่ำ คือ ระดับต่าจากเอวลงไป โดยทั่วไปจะใช้ท่ามือในระดับกลางและระดับสูง
หลักการใช้ท่ามือที่ดีต้องเป็นธรรมชาติ จังหวะเหมาะ มีความหมายและใช้ไม่มากเกินไป ไม่ขัดเขินหรือมองดูมือขณะทำท่า หลีกเลี่ยงการใช้ท่ามือ ซ้า ๆ หรือไม่มีความหมาย หรือมีลักษณะมือไม่อยู่สุข แตะจมูก เกาศีรษะ เป็นต้น
            4. การใช้สายตา การใช้สายตาช่วยให้การพูดมีพลังมีความหมาย สร้างความสัมพันธ์กับผู้ฟัง ถ่ายทอด ความรู้สึกของผู้พูด ได้รับรู้ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ฟัง ลักษณะการใช้สายตาที่ควรฝึกฝน คือ
                        4.1 การใช้สายตาเมื่อเริ่มต้นพูด ให้มองผู้ฟังเป็นส่วนรวมก่อน โดยมองไปที่ผู้ฟังที่อยู่ตรงกลางแถวหลังสุด หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนสายตาไปยังจุดอื่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง ให้ทั่วถึง และเป็นธรรมชาติ อย่าเปลี่ยนสายตาโดยรวดเร็ว หรือใช้สายตาแบบพัดลมส่าย ควรจับตาและเปลี่ยนสายตาในลักษณะของการถ่ายรูป
                        4.2 การใช้สายตาขณะพูด มองผู้ฟังให้ทั่วถึง สบตาผู้ฟังนิ่งอยู่เฉพาะคนบ้าง และใช้สายตาแสดงความรู้สึก อารมณ์ ตามเนื้อหาที่พูด อวัจนภาษาเกี่ยวกับสายตาบางประการ เช่น เบิ่งตาโพลง หมายถึง ตกใจ อยากได้ ปิดตา หมายถึง อ่อนเพลีย หรี่ตา หมายถึง สงสัย ไม่แน่ใจ ยั่วเย้า ประสานสายตา หมายถึงจริงใจ แน่ใจ ลดสายตาลง หมายถึง เกรง รู้สึกผิด ยอมรับ ชาเลืองตา หมายถึง อาย อิจฉา ดูถูก เป็นต้น
ขณะพูด ให้หลีกเลี่ยงการมองเพดาน มองข้ามศีรษะไปที่ผนังหลังห้อง มองออกนอกประตู หน้าต่าง หรือใช้สายตาหลุกหลิก เหลือบไปเหลือบมาตลอดเวลา ทาให้เสียบุคลิกภาพ
            5. การใช้เสียง เสียงจะห่อหุ้มอยู่โดยรอบถ้อยคำ ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกของผู้พูด สิ่งที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการใช้เสียงมีดังนี้
                        5.1 เสียงและการออกเสียง จะต้องชัดเจน แจ่มใส นุ่มนวลชวนฟัง ไม่ห้วน ไม่สูงแหลมจนฟังไม่สบายหู ไม่ต่ำจนฟังไม่ถนัดไม่สั่นเครือไม่แหบพร่าและไม่เพี้ยนแปร่ง นอกจากนั้นยังต้องไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป หนัก เบา สูง ต่ำ เป็นไปตามธรรมชาติ มีการ เน้นย้ำไม่ราบเรียบเสมอกันไปโดยตลอด (mo-no-tone) แต่ก็ไม่ควรเปลี่ยนระดับเสียงขึ้น ลง สูง - ต่ำ มากเกินไป จนดูเหมือนเสียงแสดงละคร (dramatization) ออกเสียงสระ พยัญชนะ และระดับเสียงวรรณยุกต์ชัดเจน ถูกต้อง การออกเสียงชัดเจนถูกต้องช่วยให้การพูดครั้งนั้น ๆ น่าฟังและน่าเชื่อถือ
                        5.2 จังหวะการพูด ไม่เร็วจนเสียความ ไม่ตัดหรือรวบคำ เช่น กระทรวงสาธารณสุขออกเสียงเป็น กระทรวงสาสุข” “มหาวิทยาลัยออกเสียงเป็น มหาลัย” “พิจารณาออกเสียงเป็น พิณาเป็นต้น และต้องไม่ช้าเนิบนาบจนเกินไป การพูดเร็วเกินไป ผู้ฟังจะฟังไม่ทันและรู้สึกเหนื่อย การพูดช้าจนเกินไปผู้ฟังก็จะรู้สึกรำคาญ และอึดอัด นอกจากนั้นยังต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง การเว้นวรรคตอนผิดจะทาให้สื่อความหมายผิดได้

            การตื่นเวทีและการลดอาการตื่นเวที
                        เมื่อต้องพูดต่อหน้ากลุ่มคน ทุกคนจะประหม่า ความรู้สึกประหม่าเล็กน้อยเป็นสิ่งดี ทำให้มีชีวิตชีวา กระตือรือร้นที่จะเตรียมตัวและพูด อาการประหม่าที่เกิดขึ้น คือ การตื่นเวที (stage fright) ซึ่งถ้ามีมากจนเกินไป จะทาให้เสียบุคลิกภาพ และทาให้เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการตื่นเวที คือ อาการของการตื่นเวที และการลดอาการตื่นเวที
            1. อาการของการตื่นเวที อาการของการตื่นเวทีมีหลายประการ เช่น คอและปากแห้ง เสียงหาย ต้องกระแอมกระไอเรียกเสียงก่อนพูด พูดไม่ออก ตะกุกตะกัก หรือติดอ่าง ลืม นึกอะไรไม่ออก ลังเลไม่แน่ใจ สับสน หายใจขัด มือสั่น ขาสั่น เข่ากระตุก เสียงเบากว่าปกติ พูดเร็วขึ้น ๆ หรือ ช้าลง ๆ หัวใจเต้นถี่ เร็ว หรือเต้นดังกว่าปกติ รู้สึกเครียด เกร็ง หรือไม่สบาย ในท้อง ไม่กล้าสบตาผู้ฟัง รู้สึกว่าผู้ฟังไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วย เหงื่อออกมาก รู้สึกกลัว เป็นต้น
            อาการตื่นเวทีของบางคนอาจมีเพียงเล็กน้อยจนไม่มีใครสังเกตเห็น คือเพียงแต่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการพูดและเกร็ง เครียด (tension) ซึ่งเป็นอาการตื่นเวทีในระดับปรกติ ผ่อนคลายได้ง่าย แต่ บางคนอาจตื่นเต้นและกังวลมากจนถึงขึ้นกลัว (fear) กลัวที่จะพูด กลัวคนฟัง อาจอาเจียน ปวดท้องมาก ใจเต้นระทึก หูอื้อ เหงื่อไหล หายใจหอบ เป็นต้น การตื่นเวทีระดับนี้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและสร้างเชื่อมั่นก็จะแก้ไขให้ลดน้อยลงได้ ส่วนการตื่นเวทีที่มากที่สุดคือการกลัวมาก (panic) ถึงขั้นเข่าอ่อน หมดแรง เป็นลม ซึ้งน้อยคนมากที่จะตื่นเวทีจนถึงระดับนี้
            2. การลดอาการตื่นเวที การที่จะแก้ไขอาการประหม่า หรือตื่นเวทีให้หายไป อย่างสิ้นเชิงนั้นยังไม่มีข้อแนะนำใด ๆ ที่ปฏิบัติแล้วได้ผล แต่อาจจะลดอาการตื่นเวทีให้น้อยลงได้ มีข้อเสนอแนะดังนี้
                        2.1 ก่อนการพูด มีแนวทางในการลดการตื่นเวทีให้น้อยลง เริ่มด้วยการเตรียมตัวให้พร้อม ความพร้อมจะช่วยให้เกิดความมั่นใจ นอกจากนั้นอาจใช้วิธีหายใจเข้าลึก ๆ แล้วอัดไว้ 2-3 วินาที แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออก ออกซิเจนที่เข้าไปในปอดจะช่วยลดความ ตึงเครียดได้ (หายใจให้เป็น หายใจเข้ากระบังลมจะพองตัวออก ท้องจะป่อง หายใจออกท้องแฟบลง การหายใจโดยปกติเป็นเช่นนี้ แต่บางคนเมื่อเกิดความ ตั้งใจที่จะหายใจเข้า ท้องกลับแฟบ เพราะแขม่วท้อง ทำให้หายใจไม่ลึก ลมที่หายใจเข้าไปไม่ถึงช่องท้อง) บางคนอาจใช้วิธีลดความเครียด เช่น จิบน้ำ ดื่มกาแฟ ลุกขึ้นเดินไปเดินมา สุดท้ายทาใจให้สงบ ทบทวนลาดับการพูดในใจว่าจะทักทายผู้ฟังอย่างไร เริ่มต้นพูดอย่างไร จะขยายความเนื้อหาอย่างไรบ้าง และจะจบการพูดอย่างไร การลำดับการพูดได้ตั้งแต่เริ่มต้นพูด จนจบการพูด จะทำให้ผู้พูดมั่นใจยิ่งขึ้น อาการตื่นเวทีจะลดน้อยลง
                        2.2 ขณะพูด พยายามควบคุมสายตา มองผู้ฟังให้ทั่วถึง และจับตาที่ผู้ฟังเฉพาะคนให้ได้ พูดช้า ๆ ถ้ารู้สึกตัวว่ากำลังพูดเร็วขึ้น ๆ ให้ควบคุมให้ช้าลง จะช่วยลดความประหม่าลงได้ เปลี่ยนอิริยาบถขณะพูดบ้าง เช่น จัดอุปกรณ์ จิบน้า ถ้ารู้สึกประหม่า คอแห้ง ให้จิบน้า ถ้าไม่มีน้ำให้หาจังหวะ เช่น ตอนก้มหรือจัดหยิบอุปกรณ์ ให้อ้าปากเล็กน้อย ภายใน 2-3 วินาที จะมีน้้ำลายช่วยให้ชุ่มคอขึ้น ถ้าติดขัดขณะพูด ไม่ควรพูดซ้า หรือหยุดคิดนาน จนเกิดบรรยากาศตาย เงียบ ให้พยายามเชื่อมโยง แล้วข้ามมายังเนื้อหาที่จำได้

            ผู้ที่ตั้งใจจะฝึกพูดต้องพร้อมเผชิญหน้ากับอาการตื่นเต้นประหม่านั้น พยายามหาโอกาสพูด พูดหน้าชั้น หน้าที่ประชุม ตอนไม่มีคนฟังหรือตอนที่มีคนน้อย ๆ เมื่อถึงเวลาพูดจริง ๆ ให้คิดว่ากำลังพูดให้เพื่อนสนิทฟัง อย่างไรก็ตามการลดความประหม่าที่ดีที่สุด ก็คือการสร้างความมั่นใจโดยการเตรียมตัวให้พร้อม
  
2. หลักการพูด
            การพูดที่ดีต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ใช้วัจนภาษา อวัจนภาษา และสื่อ ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ฟัง สถานที่ เวลา โอกาส และสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ หลักการพูดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ คือหลักการพูดที่ผู้พูดรู้ตัวล่วงหน้า เพื่อให้การพูดประสบความสาเร็จ ผู้พูดจะต้องปฏิบัติตามหลักการพูดดังต่อไปนี้

            การเตรียมตัวในการพูด
            ก่อนพูดทุกครั้งผู้พูดจะต้องเตรียมการพูดให้พร้อม การเตรียมที่ครบถ้วนคือการเตรียมให้ครบตามองค์ประกอบของการพูด โดยจัดลำดับความสำคัญก่อน หลัง ดังนี้
            1. วิเคราะห์ผู้ฟัง สถานที่ เวลา โอกาส และสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ผู้ฟัง คือ องค์ประกอบที่สำคัญของการพูด ผู้พูดต้องวิเคราะห์รายละเอียดของผู้ฟังให้มากที่สุด ทั้งเพศ วัย การศึกษา อาชีพ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ ความสนใจพิเศษ จำนวน นอกจากนั้นยังต้องวิเคราะห์สถานที่ เวลา และโอกาส ในการพูดครั้งนั้นด้วย เช่น พูดในหอประชุม หรือกลางสนาม เวลาเช้าหรือบ่ายระยะเวลา 3 ชั่วโมง หรือเพียง 10 นาที พูดเนื่องในโอกาสวันปฐมนิเทศ วันฉลองจบการศึกษา หรือ วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เตรียมคาปฏิสันถาร เนื้อหา ภาษา ตัวอย่าง สื่อ การแต่งกายของผู้พูด ฯลฯ ให้เหมาะสม
            2. เตรียมตัวผู้พูด การเตรียมตัวผู้พูด เน้นในเรื่องการเตรียมบุคลิกภาพ ทั้งบุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน
                        2.1 บุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ การแต่งกาย สุขภาพ การยืน การเดิน การใช้สายตา ท่าทาง การออกเสียง เป็นต้น บุคลิกภาพภายนอก จะปรากฏเด่นชัดในระยะเวลาอันสั้น คุณจะดูแลบุคลิกภาพภายนอกของคุณให้ ดูดีอย่างไรได้บ้าง
                        รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ มีอะไรบ้างไหมที่ทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ สะอาดสะอ้านหรือเปล่า แก้ไขอำพราง ตกแต่ง เพิ่มเติมอะไรได้บ้างไหม ดีที่สุดหรือยัง พอใจหรือยัง
                        การแต่งกาย ข้อเสนอแนะในการแต่งกายเพื่อให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี คือ ยึดหลัก 5 ส. ได้แก่ สะอาด สะดวก สุภาพ สวยงาม และสง่า ไม่จำเป็นต้องเด่นสะดุดตามากนัก
                        สุขภาพ ผู้พูดจะต้องดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ การเจ็บป่วยหรือแม้แต่พักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลต่อบุคลิกภาพ อาจหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี น้ำเสียงไม่แจ่มใส และอาจทำให้ขาดปฏิภาณไหวพริบในการคิด การพูด การสนทนาโต้ตอบ
                        การใช้สายตา ท่าทาง การออกเสียง หมายรวมถึง อิริยาบถต่าง ๆ การใช้ท่าทาง การแสดงความรู้สึกทางสีหน้า สายตา เป็นต้น
                        2.2 บุคลิกภาพภายใน ได้แก่ ลักษณะทางจิตใจ เช่น อุปนิสัย ความสนใจ ความคิด ทัศนคติในการมองโลกและชีวิต ลักษณะทางอารมณ์ เช่น ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ลักษณะทางสังคม เช่น การมีมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว ลักษณะทางปัญญา เช่น ความเฉลียวฉลาด ความมีไหวพริบ เป็นต้น
บุคลิกภาพภายใน อาจมองไม่เห็นในระยะอันสั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของ ตัวตนของบุคคล บุคลิกภาพภายในเป็นสิ่งที่สร้างเสริมและพัฒนาได้ เช่น การพยายามมองโลกในแง่ดี การมองบุคคลอื่นอย่างเป็นมิตร การระงับอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย การรู้จักการให้อภัย การมีความหวังและพลังใจ การรู้จักสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา การเพิ่มพูนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ เป็นต้น
                        บุคลิกภาพภายในกับบุคลิกภาพภายนอกย่อมสัมพันธ์กัน เมื่อคุณปรากฏตัวเพื่อพูดภายใน 4 นาทีแรก ผู้ฟังจะมองคุณที่บุคลิกภาพภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ หลังจากนั้นผู้ฟังจะสนใจเรื่องอื่น ๆ เช่น เนื้อหาสาระ สื่อ หรืออุปกรณ์ และบุคลิกภาพภายในที่คุณแสดงออก เช่น ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ ความเฉลียวฉลาด ความรู้ ความสามารถ เป็นต้น
            3. เตรียมเนื้อหา การเตรียมเนื้อหา ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เหมาะสมกับผู้ฟัง สถานที่ เวลา และโอกาสที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว โดยมีลำดับขั้นในการเตรียมเนื้อหาดังนี้
                        3.1 กำหนดวัตถุประสงค์การพูดให้ชัดเจน
                        3.2 เลือกเรื่องที่จะพูด
                        3.3 ค้นคว้ารวบรวมเนื้อหา
                        3.4 วางโครงเรื่องและเรียบเรียงเรื่อง
            4. เตรียมสื่อ (media) สื่อหรือเครื่องมือถ่ายทอดสารในการพูดคือภาษา ผู้พูดจะต้องเตรียมวัจนภาษา ได้แก่ ถ้อยคำ คำคม ภาษิต คำพูดที่ประทับใจ เตรียมฝึกการใช้อวัจนภาษา ได้แก่ กริยา ท่าทาง การใช้สีหน้า แววตา ฯลฯ รวมไปถึงการเตรียมสื่อหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ให้พร้อม เพื่อให้การพูดนั้นๆ ประสบความสำเร็จที่สุด เช่น ไมโครโฟม รูปภาพ แผนภูมิของจริง ฯลฯ เตรียมการใช้สื่อนั้นให้คล่องแคล่ว และเป็นไปตามลำดับสอดคล้องกับเรื่องที่พูด

            การฝึกพูด
            การพูดเป็นทักษะ ฉะนั้นการฝึกพูดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้พูดอาจฝึกคนเดียวหรือฝึกต่อหน้าผู้อื่น ขั้นตอนการฝึกพูดมีดังต่อไปนี้
            1. ทำบทพูดหรือบันทึกสั้น ปัญหาของผู้พูดหลาย ๆ คน คือตั้งแต่เริ่มต้นพูดก็จำไม่ได้ว่าจะทักผู้ฟังอย่างไร หรือลืมทักผู้ฟัง จาเนื้อหาไม่ได้หรือสับสน ผู้พูดจะต้องอ่านเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้เข้าใจ แล้วทาบทพูดหรือบันทึกสั้น ๆ เฉพาะประเด็นสำคัญ ลำดับไปตามโครงเรื่องคือ นำเรื่อง เนื้อเรื่อง และสรุป หากเกรงว่าจะจำคำปฏิสันถารผู้ฟังไม่ได้ก็ควรเขียนไว้ในบทด้วย กระดาษที่ทำบทพูดหรือบันทึกสั้นๆ อาจใช้กระดาษธรรมดา หรือกระดาษแข็ง ขนาดครึ่งหนึ่งของกระดาษ A4
            2. พูดจากความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่ปฏิสันถารผู้ฟังแล้วลำดับไปตามโครงเรื่อง ถ้าเนื้อหาสั้นควรพูดได้เองโดยไม่ต้องดูบท ถ้าเนื้อหามากและติดขัด ให้ดูบทพูดที่บันทึกหัวข้อหรือประเด็นสำคัญไว้ แล้วพูดอธิบาย ขยายความเองจากความเข้าใจ การถือกระดาษบันทึก ควรถือให้เรียบร้อย ไม่ม้วน พับ หักมุม เคาะ ดีดม้วนแล้วนามากระแทกกับฝ่ามือ ฯลฯ
            3. ฝึกการใช้อวัจนภาษา เช่น การใช้เสียง สายตา การยืน การเดิน การใช้ท่าทางประกอบการพูด
            4. จับเวลา ต้องพูดให้จบภายในเวลาที่กำหนด
            5. ประเมินผล รวบรวมข้อบกพร่องในการพูด วิเคราะห์ และประเมินผล หลังจากนั้นควรฝึกซ้อม โดยแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ นั้น

            การปฏิบัติการพูด
            เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว ฝึกพูดแล้วขั้นต่อไปก็คือขั้นปฏิบัติการพูด หรือลงมือพูด ซึ่งเริ่มต้น และสิ้นสุดตามลำดับดังนี้
            1. เดินไปสู่ที่พูด การเดินไปสู่ที่พูด ควรเดินอย่างกระฉับกระเฉง มั่นใจ เมื่อถึงที่พูดควรหยุดเล็กน้อย (ในบางกรณี เช่น การประกวดการพูดอาจทาความเคารพกรรมการ) มองผู้ฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใส ยืนสบาย ๆ วางเท้าให้เหมาะสมไม่ห่างหรือชิดเกินไป
            2. กล่าวปฏิสันถารผู้ฟัง เริ่มต้นพูดโดยการกล่าวปฏิสันถาร หรือทักผู้ฟังให้เหมาะสม
            3. พูดไปตามลำดับโครงเรื่อง เมื่อกล่าวถึงคาปฏิสันถารผู้ฟังแล้วก็เริ่มต้นพูดไปตามลาดับโครงเรื่อง ตั้งแต่ นำเรื่อง เนื้อเรื่อง และลงท้าย ถ้าติดขัดให้ดูหัวข้อหรือประเด็นสำคัญ ที่ทำบันทึกเตือนความจำไว้
ขณะพูดใช้อวัจนภาษา เช่น การเดิน การยืน การใช้สายตา ท่าทาง เสียง และจังหวะการพูดให้เหมาะสม ถ้าใช้สื่อประกอบการพูดก็ต้องใช้อย่างคล่องแคล่ว และเป็นไปตามลำดับ สอดคล้องกับเนื้อหา
            4. การเดินกลับ เมื่อพูดจบควรเดินกลับที่นั่งอย่างกระฉับกระเฉงและมั่นใจ ไม่รีบร้อนเกินไป (บางกรณี เช่น ในการประกวดการพูด ให้ก้าวถอยหลังสองก้าว ทำความเคารพผู้ฟัง แล้วเดินกลับที่นั่ง)
ผู้พูดควรสารวมอิริยาบถให้สุภาพเรียบร้อย นับตั้งแต่การเดินไปสู่ที่พูด จนกระทั่งการเดินกลับสู่ที่นั่ง เพราะทุกอิริยาบถอยู่ในสายตาของผู้ฟัง บางคนเมื่อพูดจบก็โล่งใจ ทาให้ลืมสารวม บางคนวิ่งกลับมายังที่นั่ง บางคนแลบลิ้นเพราะเขินอายที่ผิดพลาด ทำให้เสียบุคลิกภาพยิ่งขึ้น

            การประเมินการพูด
            การประเมินการพูดอาจประเมินโดยการบรรยาย หรือประเมินโดยกำหนดเกณฑ์เป็นค่าระดับคะแนนก็ได้ หัวข้อการประเมินทั่วไปมีดังนี้
            1. การปรากฏตัวและการปฏิสันถารผู้ฟัง ผู้พูดปรากฏตัวอย่างกระฉับกระเฉงมั่นใจหรือไม่ กล่าวคำปฏิสันถารผู้ฟังหรือไม่ ถูกต้องเหมาะสมเพียงไร
            2. การนาเรื่องหรืออารัมภบท ผู้พูดนำเรื่องได้น่าสนใจชวนให้คิดตามเรื่องต่อไปหรือไม่ การนำเรื่องช่วยสร้างบรรยากาศการพูดเพียงใด ทำให้ผู้ฟังเลื่อมใสผู้พูด หรือช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่จะพูดต่อไปหรือไม่ สัดส่วนการนำเรื่องเหมาะสมเพียงใด เป็นต้น
            3. เนื้อหาและการดำเนินเรื่อง เนื้อหาน่าสนใจหรือไม่ การดำเนินเรื่องทำให้น่าสนใจและชวนติดตามเพียงไร สัดส่วนของเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ การลำดับเรื่องไม่สับสน เข้าใจง่ายหรือไม่ ตัวอย่างชัดเจน เหมาะสมน่าสนใจเพียงใด
            4. การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษา และสื่อหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้สุภาพ เหมาะสมกับผู้ฟังหรือไม่ ลึกซึ้ง คมคาย สอดคล้องกับเรื่องที่พูดหรือไม่ สื่อที่ใช้เหมาะสม และช่วยสื่อความหมายยิ่งขึ้นหรือไม่ ลักษณะการใช้สื่อเหมาะสมเพียงใด
            5. การออกเสียง ระดับเสียง และจังหวะการพูด การออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ชัดเจนหรือไม่ น้ำเสียงแจ่มใส และนุ่มนวลชวนฟัง หรือสั่นเครือ แหบพร่า และเพี้ยนแปร่ง ระดับเสียงดังพอสมควรหรือไม่ มีการเน้นย้ำพอเหมาะชวนให้สนใจติดตามเรื่องหรือไม่ จังหวะการพูดช้า-เร็ว เหมาะสมเพียงใด
            6. การใช้สายตาท่าทาง ผู้พูดมองผู้ฟังทั่วถึงหรือไม่ จับตาผู้ฟังเฉพาะคนบ้างหรือไม่ ท่าทางที่ใช้สุภาพเหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่พูดเพียงใด
            7. การลงท้าย ผู้พูดมีการลงท้ายหรือการจบการพูดหรือไม่ ประทับใจหรือไม่ สัดส่วนของการลงท้ายเหมาะสมเพียงใด จบเรื่องภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่
            8. คุณค่าของเรื่อง เนื้อเรื่องมีคุณค่าต่อผู้ฟังมาน้อยเพียงใด
            9. บุคลิกภาพทั่วไป บุคลิกภาพทั่วไป เช่น การแต่งกาย การเดิน การยืน(หรือนั่ง)เหมาะสมหรือไม่
            10. ความสนใจของผู้ฟัง ผู้ฟังให้ความสนใจเพียงไร ตั้งใจฟังหรือไม่ ร่วมซักถามหรือแสดงความคิดเห็นบ้างหรือไม่ จะเห็นได้ว่าการประเมินการพูด ประเมินไปตามองค์ประกอบของการพูดนั่นเอง ได้แก่ ประเมินผู้พูด เนื้อหาสาระ การใช้ภาษาและสื่อ และประเมินผู้ฟัง การประเมินการพูดอาจใช้หัวข้อเดียวกัน แต่แทนที่จะบรรยายอาจกาหนดเกณฑ์เป็นค่าระดับคะแนนก็ได้

3. การพูดในชีวิตประจำวัน
            หลักการพูดซึ่งประกอบไปด้วยการเตรียมการพูด การฝึกพูด และการปฏิบัติการพูดดังที่กล่าวไปแล้วนั้น คือหลักการพูดอย่างเป็นทางการในที่ประชุม หรือการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่าง ๆ และเพื่อจุดหมายต่าง ๆ เป็นการพูดอย่างมีแบบแผน ส่วนการพูดในชีวิตประจำวันนั้นเป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นการพูดที่ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า เช่นการทักทาย ไต่ถามทุกข์สุข แนะนำตัว การตั้งคำถาม การตอบคาถาม การบอกเล่า การพูดโทรศัพท์ การกล่าวขอโทษ ขอบคุณ เป็นต้น
            มีข้อแนะนำกว้าง ๆ เกี่ยวกับการพูดในชีวิตประจำวันคือต้องสุภาพ ให้เกียรติผู้ที่เราพูดด้วย มีคำลงท้าย ค่ะ/ครับ ที่เหมาะสม ไม่ละเลยที่จะกล่าวคำขอโทษ ขออภัย ขอบใจ ขอบคุณ หรือขอบพระคุณ ให้เหมาะสมกับบุคคล
            การทักทาย นอกจากกล่าวคำ สวัสดีค่ะ” “สวัสดีครับแล้วตามวัฒนธรรมไทยบางครั้งเราต้อง ไหว้ด้วย หากบุคคลนั้นมีอาวุโสกว่า หรือเป็นหัวหน้า เป็นผู้บังคับบัญชา หรือเป็นครูอาจารย์ของเรา
            การกล่าวคำ สวัสดีต้องสุภาพ น้าเสียงนุ่มนวล การไหว้ ต้องไหว้อย่างตั้งใจ ไม่ใช่อย่างลวก ๆ ขอไปที เพราะถ้าทำเช่นนั้นการไหว้จะไม่มีคุณค่าใด ๆ เลย การกล่าวคำขอโทษ ขออภัย ขอบคุณ หรือขอบพระคุณ ก็เช่นเดียวกัน ต้องกล่าวอย่างตั้งใจ จริงใจ และนุ่มนวล ผู้ฟังจึงจะรับสารได้ตามที่เราต้องการสื่อสาร
            ในกรณีที่เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ แล้วมีผู้กล่าวขอบคุณ เราอาจกล่าวตอบว่า ไม่เป็นไรตามที่เราเคยกล่าวกันมา หรือในปัจจุบันมีผู้ใช้คำว่า ด้วยความยินดีค่ะ/ครับก็นับเป็นสำนวนที่น่านำมาใช้ เช่น เราช่วยเปิดประตูให้ ผู้เดินเข้ามากล่าวขอบคุณ เราอาจตอบว่า ด้วยความยินดีค่ะ/ครับซึ่งหมายความว่าเรายินดี หรือเต็มใจที่จะทำให้เขา นับเป็นสำนวนที่นุ่มนวลมีไมตรีจิต
            ปัจจุบันการพูดโทรศัพท์ นับเป็นกิจกรรมการพูดที่สำคัญมากในชีวิตประจำวัน การพูดโทรศัพท์ทั้งสองฝ่ายได้ยินแต่เสียง ไม่เห็นหน้าผู้พูด น้ำเสียงนุ่มนวล ถ้อยคำสุภาพ ใช้ภาษาชัดเจน กระชับ เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราเป็นฝ่ายโทรศัพท์ไป เมื่อกล่าวคำสวัสดีแล้ว อาจแนะนำตัวเอง แล้วแจ้งความประสงค์ ถ้าผู้ที่เราต้องการติดต่อด้วยไม่อยู่ อาจฝากข้อความไว้ ก่อนวางสายอย่าลืมกล่าวคำขอบคุณและสวัสดี
            ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายรับโทรศัพท์ ควรกล่าวคำสวัสดี แล้วบอกสถานที่ หรือหน่วยงาน ถ้าหากจะต้องไปตามบุคคลที่อีกฝ่ายต้องการจะพูดโทรศัพท์ด้วย ควรบอกว่า กรุณารอสักครู่ค่ะและถ้าหากบุคคลนั้นไม่อยู่ เสนอแนะให้เลือกใช้สำนวนต่อไปนี้ตอบให้เหมาะสม เช่น กรุณาติดต่อมาใหม่นะคะ” “จะฝากข้อความไว้ไหมคะ” “ถ้าท่านกลับมาจะให้เรียนท่านว่าอย่างไรค่ะหรือ ขออภัยค่ะ จะให้เรียนท่านว่าใครโทรมาคะเป็นต้น และถ้ามีการฝากข้อความ การรับฝากข้อความก็ควรระบุชัดเจนว่า ถึงใคร จากใคร ข้อความคืออะไร ผู้รับโทรศัพท์คือใคร และอย่าลืมลงวันที่และเวลาที่รับโทรศัพท์ด้วย

4. การพูดเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ
            เนื้อหาเกี่ยวกับการพูดเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่จะเสนอต่อไปนี้เป็นการพูดที่ใช้มากในการศึกษาระดับอุดมศึกษา และนักศึกษาจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

            การพูดเพื่อนำเสนองาน
การศึกษาระดับอุดมศึกษา นักศึกษามักต้องศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ทำโครงงานหรือทำวิจัย แล้วนาเสนองานนั้นต่อที่ประชุม ส่วนใหญ่เป็นการพูดในลักษณะสรุปผล การพูดคนเดียวเพื่อนำเสนองานต่อที่ประชุม มีขั้นตอนในการนำเสนอดังนี้
            1. กล่าวคาปฏิสันถารผู้ฟัง ในที่ประชุมมีอาจารย์และนักศึกษา และเป็นการนำเสนอหรือเรียนให้อาจารย์ทราบถึงงานที่ทำ การกล่าวปฏิสันถารหรือทักที่ประชุม อาจใช้ว่า เรียนอาจารย์ และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกคนหรือกรณีที่บรรยากาศในการนำเสนอครั้งนั้นไม่เป็นทางการมากนัก อาจทักที่ประชุมโดยใส่อารมณ์และความรู้สึกด้วยเป็น เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนนักศึกษาที่รักทุกคนหากในที่ประชุมนั้นมีบุคคลภายนอกเข้าฟังด้วย อาจใช้คำทักเป็นกลาง ๆ ว่า เรียนอาจารย์ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านหรือ เรียนอาจารย์และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่านถ้าหากเป็นการนำเสนองานในที่ประชุมอื่น ๆ เช่น ห้องประชุมของบริษัท อาจทักที่ประชุมว่า เรียนท่านประธานและคณะกรรมการทุกท่านหรือ เรียนท่านประธานและคณะกรรมการที่เคารพทุกท่านโปรดพิจารณาใช้คำปฏิสันถารให้เหมาะสม
            เมื่อกล่าวคำปฏิสันถารผู้ฟังแล้วจึงบอกชื่อเรื่องที่จะนำเสนอ และนำเสนอรายละเอียดในส่วนต้นบางประการ เช่น วัตถุประสงค์ ขอบข่ายและที่มาของข้อมูล เป็นต้น
            2. นำเสนอ พูดไปตามหัวข้อหรือประเด็นสำคัญของงาน ลักษณะการพูด ให้พูดจากความเข้าใจโดยดูหัวข้อที่ทำบันทึกไว้ แล้วอธิบายขยายความหรือยกตัวอย่างเองตามที่เตรียมไว้ กรณีที่เนื้อหาบางตอนมีรายละเอียด และจำเป็นต้องนำเสนอ อาจพูดแบบอ่านจากร่างหรือต้นฉบับ นั่นคืออ่านจากบันทึกโดยเงยหน้าสบตาผู้ฟังบ้าง และควรใช้วิธีนี้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะการอ่านจากบันทึก แม้จะเงยหน้าสบตากับผู้ฟังบ้าง แต่ก็เป็นการพูดที่ขาดชีวิตชีวา ผู้ฟังจะเบื่อมาก หากมีรายละเอียดมากและจำเป็นต้องนาเสนอ ควรแก้ไขโดยการใช้สื่อหรือเอกสารประกอบการนำเสนอ ขณะพูดใช้อวัจนภาษาต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่น การใช้สายตา น้ำเสียง จังหวะการพูด ท่าทางประกอบ เป็นต้น
            3. การใช้สื่อ ในกรณีที่มีสื่อหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบการพูดรายงาน ควรฝึกซ้อมและนำเสนอให้คล่องแคล่ว เป็นไปตามลำดับ สอดคล้องกับเรื่องที่กำลังพูด จะช่วยให้การนำเสนอประสบความสำเร็จ
            4. เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น เมื่อสรุปจบการรายงานหรือการนำเสนอแล้ว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็น ผู้นำเสนอควรตอบคำถามอย่างสุภาพ รับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอย่างมีวิจารณญาณ
            5. จบการพูด ควรจบการพูดรายงานหรือการนำเสนอด้วยการกล่าวขอบคุณ และกล่าวสวัสดี ในกรณีที่ต้องเดินกลับสู่ที่นั่ง ให้เดินกลับสู่ที่นั่งอย่างมั่นใจและสารวม เพราะทุกอิริยาบถของผู้พูดยังอยู่ในสายตาผู้ฟังโดยตลอด
            การพูดรายงานคนเดียวต่อที่ประชุมนั้น งานที่นาเสนออาจเป็นงานที่ทำเดี่ยว หรือทำเป็นกลุ่มก็ได้ แต่มีตัวแทนกลุ่มพูดรายงานเพียงคนเดียว ในกรณีนี้ สมาชิกลุ่มคนอื่น ๆ อาจคอยช่วยเหลือในตอนใช้สื่อ หรือช่วยตอบคาถาม เป็นต้น

            การแนะนำและกล่าวเชิญวิทยากร
            การศึกษาระดับอุดมศึกษา นักศึกษาต้องศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากร การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ก็อาจเชิญวิทยากรมาบรรยาย อภิปราย สาธิต หรือ ให้ข้อคิด ข้อเสนอแนะ ซึ่งบางครั้งนักศึกษาอาจต้องมีบทบาทในการแนะนำและกล่าวเชิญวิทยากร ลำดับขั้นในการแนะนำและกล่าวเชิญวิทยากรหรือผู้พูดมีดังนี้
            1. กล่าวปฏิสันถารผู้ฟัง การกล่าวปฏิสันถารหรือทักผู้ฟังจะต้องพิจารณาให้เหมาะสม เช่น อาจกล่าวปฏิสันถารว่า ท่านประธาน อาจารย์ นักศึกษา และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านหรือ คณะอาจารย์-นักศึกษา และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่านเป็นต้น
            2. อารัมภบท คือการกล่าวเกริ่นถึงโอกาสที่มีกิจกรรมนั้น ๆ สั้น ๆ เช่น กิจกรรมนั้น ๆ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสใด ใครเป็นผู้จัด มีความสำคัญอย่างไร โดยพูดเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับเรื่องหรือหัวข้อที่เชิญวิทยากรมาพูด
            3. แนะนำ แนะนำโดยบอกชื่อ-นามสกุล การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน ผลงาน ความรู้ ความสามารถพิเศษในเรื่องที่เชิญมาพูด ในกรณีที่วิทยากรมีตำแหน่งหน้าที่หรือประสบการณ์การทางานและผลงานมากมาย อาจเลือกแนะนำเฉพาะที่สำคัญ หรืออาจขอคำแนะนาจากวิทยากรว่าประสงค์จะให้แนะนำอย่างไรบ้าง การแนะนำไม่ควรยืดยาวเกิน 2 นาที และไม่ควรสั้นกว่า 2 นาที ถ้ายาวเกินไปผู้ฟังจะเบื่อหากสั้นเกินไปผู้ฟังก็จะจับใจความอะไรไม่ได้ และเกิดความรู้สึกเหมือนผู้แนะนำไม่ให้ความสำคัญแก่วิทยากร
            4. กล่าวเชิญ เมื่อแนะนำวิทยากรจบแล้ว อย่าลืมกล่าวเชิญ ผู้พูดโดยอาจกล่าวว่า ขอเชิญคุณ...ค่ะ/ครับหรือ เรียนเชิญท่านวิทยากร รองศาสตราจารย์.....ค่ะ/ครับ

            การกล่าวขอบคุณวิทยากร
            เมื่อวิทยากรพูดจบลง พิธีกรซึ่งเป็นผู้กล่าวแนะนำจะออกมาขอบคุณวิทยากร หรืออาจกล่าวเชิญให้ผู้ฟังคนใดคนหนึ่ง (ต้องเชิญให้รู้ตัวไว้ก่อนล่วงหน้า) ออกมาขอบคุณวิทยากรก็ได้ ลำดับขั้นในการกล่าวขอบคุณมีดังนี้
            1. กล่าวปฏิสันถารผู้ฟัง กล่าวปฏิสันถารหรือทักผู้ฟังสั้น ๆ ควรทักวิทยากรด้วย เพราะจะขอบคุณวิทยากร เช่น อาจกล่าวคำปฏิสันถารว่า ท่านประธาน ท่านวิทยากร ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านหรือ ท่านวิทยากร อาจารย์ และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่านเป็นต้น
            2. กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฟัง เช่น ความรู้ ข้อคิดที่ได้รับ ความประทับใจ อาจกล่าวคาดหวังว่าวิทยากรจะให้เกียรติมาพูดอีกในโอกาสต่อไป
            3. กล่าวขอบคุณ อาจมีการเชิญชวนให้ผู้ฟังปรบมือเป็นการร่วมกันขอบคุณวิทยากรและหลังจากนั้นอาจมีการมอบของที่ระลึกแก่ผู้พูด หรือวิทยากรด้วย

            การพูดในโอกาสต่าง ๆ
            การศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาจมีการจัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น การรับน้องใหม่ การเลี้ยงส่งรุ่นพี่ การแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล ฯลฯ ในโอกาสพิเศษเหล่านี้นักศึกษาอาจมีบทบาทต้องกล่าวอวยพร ต้อนรับ หรือแสดงความยินดี ฯลฯ การเตรียมการพูดและขั้นตอนการพูดในโอกาสต่างๆ เหล่านี้ มีหลักกลาง ๆ เช่นเดียวกับการพูดทั่วไป ขอเสนอขั้นตอนการพูดในโอกาสดังกล่าวแต่เพียงสังเขป โดยนักศึกษาจะต้องปรับใช้ให้เหมาะสมดังนี้
            1. กล่าวปฏิสันถารผู้ฟัง
            2. กล่าวถึงความรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาอวยพร ยินดีที่ได้ต้อนรับ ยินดีที่ได้มาแสดงความชื่นชมฯลฯ และอาจกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ที่บุคคลจะอวยพร ต้อนรับ หรือ แสดงความยินดีด้วย นั้น
            3. ให้ข้อคิดหรือเหตุผลให้สอดคล้องกับโอกาสนั้น ๆ เช่น ข้อคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของน้องใหม่ เหตุผลที่ชื่นชมและยินดีที่มีความพากเพียรจนสำเร็จเป็นบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หรือเป็นนักกีฬาดีเด่น ฯลฯ
            4. กล่าวอวยพร ต้อนรับ แสดงความยินดี หรืออาลา ฯลฯ และอาจมีการมอบของที่ระลึกของขวัญ ของรางวัล แล้วแต่กิจกรรมนั้น ๆ

            การพูดเป็นพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ที่สำคัญมากการพูดให้ได้ดีต้องมีการเตรียมการพูด ซึ่งไม่ว่าจะพูดโดยมีวัตถุประสงค์ใดหรือพูดในโอกาสใด ล้วนมีหลักการเตรียมการพูดอย่างเดียวกัน นั่นคือ เตรียมไปตามองค์ประกอบของการพูด ได้แก่ เตรียมตัวผู้พูด เนื้อหาสาระภาษา และสื่ออื่นๆ ทั้งนี้ต้องให้เหมาะกับผู้ฟัง สถานที่ เวลา และโอกาส นอกจากการเตรียมการพูดแล้ว ควรฝึกพูดทบทวนและแก้ไขข้อบกพร่อง จะช่วยให้สามารถพัฒนาการพูดให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการพูดและการปฏิบัติจะต้องสอดคล้องกัน ต้องพูดดี และทาดีด้วย จึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจในการให้บริการออนไลน์สำหรับการช่วยเหลือเงินกู้ 200,000 ยูโรเพื่อเริ่มต้นครอบครัวของฉันภายใน 24 ชั่วโมงหากคุณสนใจที่จะกู้เงินด่วนในอัตราต่ำติดต่อ Trustloan Online Services ที่: {trustloan88 @ g m a l l. c o m}

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา

    ตอบลบ