1. การฟัง





          การฟังเป็นกระบวนการของการรับสารซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญและมนุษย์ใช้มากที่สุด การฟังยังเป็นการสื่อสารที่มาก่อนการพูด การอ่านและการเขียน การฟังมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการสื่อสารอย่างมาก ความล้มเหลวของการสื่อสารนั้นเกิดจากการฟังมากที่สุด การฟังอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญและทาให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลได้
          เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงการฟังใน 3 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง ความรู้พื้นฐานของการฟัง จะอธิบายถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฟังเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้เรียน ประเด็นที่สอง หลักการฟัง จะอธิบายลักษณะและวิธีการฟังสารประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถพัฒนาทักษะการฟังของตนเองให้มีประสิทธิภาพ และประเด็นที่สาม อุปสรรคและปัญหาในการฟัง จะกล่าวถึงปัจจัยที่ทาให้การฟังขาดประสิทธิภาพ        




1. ความรู้พื้นฐานของการฟัง
            การพัฒนาทักษะการฟังให้มีประสิทธิภาพนั้น ผู้ฟังต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการฟังเพราะจะทำให้เข้าใจลักษณะทั่วไปของการฟัง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจอันจะช่วยให้การพัฒนาทักษะการฟังรวดเร็วและมีคุณภาพขึ้น การเรียนรู้พื้นฐานของการฟังจึงเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาทักษะการฟัง

1.1 ความหมายของการฟัง
การฟังเป็นทักษะทางภาษาที่มนุษย์ใช้มากที่สุด บางครั้งอาจมีผู้เข้าใจว่า การฟังมีความหมายเหมือนการได้ยิน แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังกับการได้ยินมีความหมายแตกต่างกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 811) ให้ความหมายของคาว่า ฟังไว้ว่า ตั้งใจสดับ คอยรับเสียงด้วยหูส่วนการได้ยิน (2546, หน้า 419) หมายถึง รับรู้เสียงด้วยหูจากทั้งสองความหมายนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า การฟังมีความเกี่ยวข้องกับการตั้งใจฟังต่างจากการได้ยินซึ่งเป็นเพียงการรับรู้เสียงด้วยหูเท่านั้น
ปรีชา ช้างขวัญยืน กล่าวว่า การฟัง คือ พฤติกรรมการใช้ภาษาที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลของบุคคลหนึ่งหลังจากได้ยินเสียงพูดหรือเสียงอ่าน ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้ภาษาภายนอกตัวบุคคลจากอีกบุคคลหนึ่ง เมื่อเสียงนั้นมากระทบโสตประสาทของผู้รับ คือ ผู้ฟังแล้ว ผู้ฟังก็จะนำเสียงพูดเหล่านั้น เข้าสู่กระบวนการทางสมอง คือ การคิด ด้วยการแปลความ ตีความจนเกิดความเข้าใจ ทั้งนี้ถ้าเสียงดังกล่าวเป็นเสียงในภาษาเดียวกันของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง การฟังก็จะเกิดผลได้ง่าย ถูกต้องและชัดเจน (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2525, หน้า 4-5)
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการฟังได้ว่า การฟัง หมายถึง พฤติกรรมการรับสารผ่านโสตประสาทอย่างตั้งใจเชื่อมโยงกับกระบวนการคิดในสมอง โดยสมองแปลความหมายของเสียงจนเกิดความเข้าใจและมีปฏิกิริยาตอบสนอง การฟังจึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล

1.2 การฟังกับการได้ยิน
การฟังนั้นต่างจากการได้ยิน เนื่องจากการฟังต้องอาศัยโสตประสาทที่อยู่ในหูเป็นเครื่องมือรับเสียง จากนั้นเมื่อเสียงผ่านโสตประสาทแล้วจะเข้าสู่กระบวนการทำงานของสมอง ส่วนการได้ยินเป็นกลไกอัตโนมัติของโสตประสาทในการรับเสียงแต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับกระบวนการทางสมองเพื่อตีความในการทำความเข้าใจเสียงนั้น แผนภูมิต่อไปนี้แสดงให้เห็นกระบวนการการฟังซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างการฟังกับการได้ยิน แบ่งตามลำดับได้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

            จากแผนภูมิจะเห็นว่า กระบวนการฟังเป็นขั้นตอนที่ต่อจากการได้ยิน การได้ยินจะสิ้นสุดเพียงระดับการรับรู้เสียงแต่การฟังนั้น เมื่อผู้ฟังเกิดการรับรู้เสียงแล้วจะต้องใช้กระบวนการทางสมองในการตีความและแปลความเสียงที่ได้ยินนั้นออกมา ทาให้เกิดความเข้าใจและตอบสนองสารที่ได้ฟัง เช่น เกิดความเข้าใจ เกิดอารมณ์ความรู้สึก เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะการฟังนั้นจะต้องเริ่มมาจากการตั้งใจหรือจงใจที่จะฟัง ส่วนการได้ยินจะไม่ได้เริ่มจากการตั้งใจฟัง
  
1.3 ความสำคัญของการฟัง
การฟังมีความสำคัญมากต่อการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน ดังจะเห็นว่ามนุษย์ใช้เวลาไปกับการฟังมากที่สุดหากเปรียบเทียบกับการพูด การอ่านและการเขียน จอห์น ดับบลิว เคล์ทเนอร์ พบว่า ผู้ที่สื่อสารนั้น มีอัตราส่วนของการใช้ทักษะทางภาษา คือ ใช้เวลาในการฟัง 42% การพูด 32% การอ่าน 15% และการเขียน 11% ซึ่งทำให้เห็นว่า การฟังมีความสำคัญในการกำหนดความล้มเหลวหรือความสำเร็จของการสื่อสารอย่างมาก



ความสำคัญของการฟัง สรุปได้ดังนี้
1. การฟังทำให้ได้รับความรู้ เพราะการฟังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เช่น การฟังบรรยายของอาจารย์ในชั้นเรียน ฟังวิธีทาขนมไทย ฟังวิธีปลูกไม้ดอก เป็นต้น
2. การฟังทำให้รู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทาให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของคนและสังคม
3. การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งที่เกิดจากการฟังจากบุคคลโดยตรงหรือฟังผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. การฟังช่วยยกระดับจิตใจ ทาให้เข้าใจความเป็นมนุษย์หรือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขได้ เช่น การฟังธรรมเทศนา การฟังโอวาท เป็นต้น
5. การฟังทำให้ได้รับความบันเทิง ช่วยผ่อนคลายความเครียด
6. การฟังช่วยพัฒนาทักษะการพูดให้มีประสิทธิภาพได้ กล่าวคือ การฟังช่วยให้ผู้ฟังได้เรียนรู้วิธีการพูด เนื้อหาสาระของสาร วิธีการนำเสนอสาร บุคลิกภาพ ฯลฯ ซึ่งสามารถนามาปรับใช้กับวิธีการพูดของตน ทำให้เกิดความมั่นใจขณะพูด และทำให้การพูดของตนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7. การฟังอย่างมีประสิทธิสามารถสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม
8. การฟังเป็นเครื่องมือช่วยสืบทอดความงามทางวรรณศิลป์และฉันทลักษณ์ของไทย เช่น การอ่านบทร้อยกรอง บทกวี บทสวดมนต์ เพลงไทยเดิม เป็นต้น

1.4 ระดับของการฟัง
การฟังสามารถจำแนกได้หลายระดับ โดยระดับของการฟังที่มักใช้ในชีวิตประจาวันสรุปได้เป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้
1. ระดับการได้ยิน การได้ยินเป็นกระบวนการขั้นแรกของการฟัง เป็นการรับรู้โดยใช้ อวัยวะในการรับรู้หรือการได้ยินคือ หูและอวัยวะภายในหู เมื่อหูรับคลื่นเสียงแล้วก็จะส่งไปยังสมอง สมองจะรับรู้ว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นคืออะไรโดยไม่มีการแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
2. ระดับการฟังตามปกติ เป็นระดับการได้ยินที่สูงขึ้นต่อจากการได้ยิน ผู้ฟังต้องใช้สมรรถภาพทางสมองเชื่อมโยงเสียงที่ได้ยินกับประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับความหมายของเสียง เพื่อให้เกิดการแปลความและตีความเสียงนั้น จนเข้าใจสารที่ฟังและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสารนั้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ระดับการฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระดับการฟังที่สูงขึ้นอีกต้องอาศัยสมรรถภาพทางด้านการคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า การวินิจฉัย และการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ การฟังระดับนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากสามารถพัฒนาจนเกิดทักษะแล้ว ผู้ฟังจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการฟังสารนั้นๆ

1.5 ลักษณะการฟังแบบต่างๆ
การฟังสามารถแบ่งได้หลากหลายลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1.  การฟังอย่างเข้าใจ เป็นการฟังขั้นพื้นฐานที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์ เช่น ฟังเพื่อให้สามารถรับรู้เข้าใจเรื่องราว เข้าใจความคิดของบุคคล เข้าใจความหมายของสารแล้วสามารถนำสิ่งที่ได้ฟังไปปฏิบัติได้ ฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผู้ฟังควรฟังโดยตลอด ใช้ความคิดพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและยอมรับความรู้ความคิดหรือมุมมองต่างๆ ของผู้ส่งสาร อาจมีการจดบันทึกประเด็นสาคัญๆ ไปด้วยก็ได้
2. การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการฟังที่ผู้ฟังตั้งวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งไว้ล่วงหน้า เช่น ต้องการฟังเพื่อความรู้ เพื่อความบันเทิง เพื่อการตัดสินใจ เป็นต้น การฟังอย่างไม่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายจัดว่าเป็นการฟังแบบผ่านๆ ผู้ฟังจะไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้ฟัง การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมายจึงเป็นพื้นฐานสาคัญของการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การฟังอย่างมีวิจารณญาณ จัดเป็นการฟังที่ต้องใช้ความคิดวิเคราะห์สารที่ได้ฟัง มักดาเนินควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สาร จัดเป็นการฟังขั้นสูง ผู้ฟังต้องจับประเด็นว่าจุดมุ่งหมายของผู้พูดคืออะไร และแยกแยะว่าส่วนใดที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อคิดเห็น โดยใช้กระบวนการคิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล จนนำไปสู่การตอบสนองที่ถูกต้องเหมาะสม การฟังอย่างมีวิจารณญาณจะทำให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์และได้ข้อมูลที่เป็นจริง
4. การฟังอย่างประเมินคุณค่า เป็นการฟังในระดับสูงต่อมาจากการฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องประเมินหรือตัดสินคุณค่าของสารที่ฟังว่าดีหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ เหมาะแก่การนำไปปฏิบัติหรือไม่ ผู้ฟังควรฟังอย่างตั้งใจและสามารถวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ฟังได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ การฟังอย่างประเมินคุณค่าทำให้ผู้ฟังตระหนักได้ว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

1.6 จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังที่ดีผู้ฟังควรจะต้องฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟังของตนอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังอย่างถ่องแท้ การฟังโดยที่มีการตั้งจุดมุ่งหมายในการฟังไว้ล่วงหน้าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทักษะการฟัง จุดมุ่งหมายของการฟังสรุปได้ดังนี้
1. ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ นักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุประสงค์นี้โดยตรง ผู้เรียนจะต้องฟังบรรยายของครูอาจารย์ ฟังวิทยากร ฟังเสวนา ฟังอภิปรายและฟังการรายงานของเพื่อน นอกจากการฟังเพื่อให้เกิดความรู้โดยตรงแล้ว ยังมีการฟังอีกลักษณะหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้โดยอ้อม คือการฟังสารประเภทข่าวสาร เหตุการณ์     บ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฟังสารคดี ฟังการสัมภาษณ์บุคคลสาคัญ ฟังรายการสนทนาต่างๆ ฟังรายการที่เป็นสาระประโยชน์ เช่น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง การกาหนดจิตให้มีสมาธิ หรือรายการแนะนาสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น การฟังเพื่อให้เกิดความรู้โดยอ้อมนี้จะทำให้ผู้ฟังเป็นคนที่มีความรู้กว้างขวาง เป็นผู้รอบรู้ในเรื่องต่างๆ ความรอบรู้นี้สามารถนำไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ทาให้การดำเนินชีวิตมีคุณภาพและเกิดความสงบสุขได้
2. ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย เป็นการฟังเพื่อให้เกิดเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ภาวะแวดล้อม ความวิตกกังวลจากการดำเนินชีวิตในสังคม เช่น การฟังเพลง ฟังและชมการแสดงดนตรี ฟังเรื่องเบาสมอง ฟังการอ่านทำนองเสนาะ รวมไปถึงฟังเสียงธรรมชาติ เช่น น้ำตก นกร้อง คลื่นในทะเล ฯลฯ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันลักษณะการฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลายยังมีความแตกต่างจากในอดีต ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีที่มีความเจริญก้าวหน้า ดังจะเห็นว่าการฟังในสมัยอดีตจะมีลักษณะเป็นการฟังระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มชนกลุ่มเล็กๆ และมักจะมีการนัดหมายล่วงหน้า ซึ่งมักจะเป็นการร้องหรือพูดปากเปล่าที่ผู้ร้องหรือพูดอยู่ไม่ไกลจากผู้ฟัง เช่น การฟังเพลง ฟังขับเสภา การดูโขน ฯลฯ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทาให้ผู้ฟังสามารถฟังเพลงหรือสิ่งที่ต้องการได้ในทุกขณะและผู้ฟังกับผู้ร้องหรือพูดไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กันเพราะสามารถใช้เครื่องขยายเสียงได้ เช่น ฟังจากเครื่องเล่นเทป-ซีดีแบบพกพา เครื่องเล่นเอ็มพี โทรศัพท์มือถือ iPad เป็นต้น
3. ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ อาทิเช่น การฟังปราศรัยหาเสียง ฟังโฆษณาสินค้า ฟังการขอร้อง วิงวอน ฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผู้ฟังจะต้องใช้วิจารณญาณในการฟังมากที่สุด และต้องประเมินค่าสิ่งที่ได้ฟังว่ามีเหตุมีผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เช่น ฟังการปราศรัยหาเสียง ผู้ฟังควรตั้งใจฟังและหาสาระสำคัญจากสิ่งที่ได้ฟัง พยายามแยกแยะข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นหรือถ้อยคำที่มีลักษณะชักจูงใจ ชวนเชื่อออกจากกัน ใช้วิจารณญาณพิจารณาไตร่ตรองข้อมูลที่เป็นไปได้จริงและประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น
4. ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นการฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อื่น เพื่อเข้าใจบุคคลหรือเรื่องนั้นๆ เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันและลดความขัดแย้งต่างๆ การฟังเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกิดขึ้นได้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับชาติและนานาชาติ เป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะการฟังเพื่อสร้างความเข้าใจนี้ ส่วนใหญ่มักมีปัญหาหรือเกิดความขัดแย้งขึ้นเสียก่อนจึงมีการตกลงสร้างความเข้าใจร่วมกัน โดยปัญหาหรือความขัดแย้งนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุทางการเมือง สาเหตุทางเศรษฐกิจ สาเหตุทางสังคม สาเหตุทางความคิดและทัศนคติที่แตกต่างกัน ฯลฯ การฟังเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันจะเป็นแนวทางช่วยลดปัญหาหรือความขัดแย้งต่างๆได้ แต่ทั้งนี้ผู้ฟังและผู้พูดต้องมีใจเป็นกลางและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างด้วย
5. การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นการฟัง ที่ต้องเกิดจากความตั้งใจและการคิดพิจารณาเพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็น โดยการแสดงความคิดเห็นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าของสาร ฉะนั้น ผู้ฟังจึงต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมในการถ่ายทอดความคิดเห็นนั้นเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนด้วย การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นนี้มักปรากฏในการฟังการสัมมนา การเสวนา การอภิปราย เป็นต้น
6. ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ เป็นการฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญาและวิจารณญาณ ยกระดับจิตใจ ค้าชูจิตใจให้สูงขึ้นและประณีตขึ้น การฟังประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกับการฟังเพื่อความบันเทิงแต่ต่างกันตรงที่การฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจจะมีลักษณะลึกซึ้งและละเอียดอ่อนกว่า มุ่งพัฒนาจิตวิญญาณมิใช่เพียงอารมณ์หรือความรู้สึก เช่น การฟังธรรมะ ฟังเทศน์ ฟังสุนทรพจน์ ฟังโอวาท เป็นต้น
7. ฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต เป็นการฟังที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต อาทิเช่น ให้ทารกในครรภ์ฟังเสียงเพลงเชื่อว่าเป็นการพัฒนาสมอง การฟังเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง เสียงน้าตก ฯลฯ เชื่อว่าจะบาบัดอาการเครียด การซึมเศร้า และคนไข้จิตเวชได้

การตั้งจุดมุ่งหมายการฟังเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการพัฒนาทักษะการฟังให้มีประสิทธิภาพ ผู้ฟังที่ดีต้องตั้งจุดมุ่งหมายของการฟังทุกครั้งเพื่อสร้างแนวทางในการฟังเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะทาให้ผู้ฟังสามารถตระเตรียมความพร้อมก่อนฟัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาสาระ ประโยชน์และสามารถประเมินค่าสิ่งที่ได้ฟังได้ง่ายขึ้น

2. ประเภทของการฟัง
            ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า ทาให้มนุษย์ใช้ทักษะการฟังมากขึ้น ในอดีตประเภทของการฟังมีลักษณะเป็นเพียงการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มชน แต่ปัจจุบันมีการขยายตัวของสังคม เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าส่งผลให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการฟังอย่างยิ่งทำให้ประเภทของการฟังหลากหลายมากขึ้น ประเภทของการฟังสรุปได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
            1. การฟังโดยพิจารณาจากกระบวนการสื่อสาร
            2. การฟังโดยพิจารณาจากการตอบสนองของผู้ฟังเป็นหลัก

2.1 . การฟังโดยพิจารณาจากกระบวนการสื่อสาร
                    การฟังที่พิจารณาจากกระบวนการสื่อสารมี 2 ลักษณะ ดังนี้
                 2.1.1  การฟังการสื่อสารแบบทางเดียว การฟังการสื่อสารแบบทางเดียวเป็นการรับฟังสารที่ถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ โดยไม่มีการสื่อสารกลับ เช่น การฟังบรรยาย การฟังเพลง ฟังรายการวิทยุ การฟังการกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น ทั้งนี้ การฟังการสื่อสารทางเดียวอาจมีอุปสรรคได้ เช่น สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ผู้พูดเสียงแหบแห้ง สื่อที่ผู้พูดใช้ประกอบไม่สมบูรณ์ หรือไฟดับ เป็นต้น ผู้ฟังการสื่อสารประเภทนี้จึงควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของสื่อ เลือกสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการฟังและตั้งใจฟัง

                   2.1.2 การฟังการสื่อสารแบบสองทาง การฟังการสื่อสารแบบสองทางมีกระบวนการขั้นต้นเหมือนกับการฟังการสื่อสารทางเดียว แต่ต่างการตรงที่การฟังการสื่อสารสองทางนั้น ผู้ฟังสามารถสื่อสารกลับได้ (feedback) มีการโต้ตอบระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง เช่น การสนทนา การคุยโทรศัพท์ เป็นต้น การฟังประเภทนี้ ผู้ฟังควรพัฒนาทักษะการฟัง การจับใจความสำคัญ และพัฒนาทักษะการพูดควบคู่ไปด้วย

2.2 การฟังโดยพิจารณาจากการตอบสนองของผู้ฟังเป็นหลัก
                                    การฟังที่พิจารณาจากการตอบสนองของผู้ฟังแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

                                    2.2.1 การฟังโดยผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยตรงในการสื่อสาร การฟังประเภทนี้เป็นการสื่อสารที่บุคคลมีบทบาทโดยตรงในฐานะเป็นผู้รับสารและผู้ส่งสาร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
                                    - การฟังการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารลักษณะนี้เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน บุคคลที่สื่อสารมีจำนวนไม่เกิน 2 คน ทำหน้าที่เป็นผู้รับสารและส่งสารโต้ตอบกัน เช่น การทักทาย การสนทนา การคุยโทรศัพท์ การสัมภาษณ์ เป็นต้น การฟังการสื่อสารระหว่างบุคคลจะสัมฤทธิผลได้ต่อเมื่อผู้ฟังตั้งใจฟัง เป็นผู้ฟังที่ดี มีความจริงใจต่อคู่สนทนา แสดงปฏิกิริยาตอบสนองอย่างเหมาะสม และใช้วิจารณญาณตีความหมายสารที่ผู้พูดส่งมาเพื่อการตอบสนองกลับได้อย่างถูกต้อง
                                    - การฟังการสื่อสารภายในกลุ่ม การสื่อสารลักษณะนี้เป็นการสื่อสารที่มีบุคคลเข้าร่วมสื่อสารมากกว่า 3 คน ไม่จำกัดจานวนบุคคลในกลุ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาส สถานที่ และเครื่องอำนวยความสะดวก การสื่อสารภายในกลุ่ม เช่น การอภิปรายกลุ่ม การประชุมปรึกษาหารือแก้ไขเรื่องต่างๆ เป็นต้น บุคคลที่อยู่ในกลุ่มจะเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังสลับกันไป อาจเป็นการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์ วัตถุประสงค์ของการฟังการสื่อสารภายในกลุ่มมักเป็นการฟังเพื่อรับทราบข้อตกลง รับทราบเป้าหมาย หรือร่วมตัดสินใจ รูปแบบของการสื่อสารอาจเป็นแบบทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ อาจมีประธานกลุ่มหรือไม่มีก็ได้ การฟังการสื่อสารภายในกลุ่ม ผู้ฟังควรศึกษาเอกสารหรือประเด็นของเรื่องที่จะฟังมาล่วงหน้าก่อน ขณะฟังควรฟังอย่างตั้งใจ ฟังแล้วคิดไตร่ตรองไปด้วย เมื่อมีผู้แสดงความคิดเห็นควรรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง ไม่มีอคติ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นระยะๆ
                                    2.2.2 การฟังโดยผู้ฟังไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการสื่อสาร การฟังประเภทนี้จัดเป็นการฟังสื่อสาธารณะ เป็นการรับสารและส่งสารในที่ชุมนุมชน มีขนาดกลุ่มใหญ่กว่าการสื่อสารภายในกลุ่ม
                                    - การฟังการสื่อสารกลุ่มใหญ่ การฟังประเภทนี้เป็นการฟังในที่ชุมนุมชนหรือฟังสื่อสาธารณะ ลักษณะของการฟังมักจะแยกอย่างชัดเจนว่าใครเป็นผู้ส่งสารและใครเป็นผู้รับสาร เวทีของผู้พูดและผู้ฟังก็มักจะแยกส่วนออกจากกัน กลุ่มผู้ฟังมักเป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็น ทัศนคติ และความนิยมที่ใกล้เคียงกับผู้ส่งสาร ผู้ฟังส่วนใหญ่มักจะเข้าใจสารที่ส่งมาแต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือซักถามได้ การฟังประเภทนี้ เช่น การบรรยายสรุป การชี้แจงต่อที่ประชุม การปราศรัยหาเสียง การแสดงปาฐกถา การอภิปรายสาธารณะ เป็นต้น การฟังสื่อสาธารณะ ผู้ฟังควรศึกษาผู้พูดและประเด็นที่จะฟังล่วงหน้าเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจ ในขณะฟังควรตั้งใจฟัง มีสมาธิในการฟัง จับประเด็นเรื่องที่ฟังให้ได้ และหลังจากฟังจบแล้ว ผู้ฟังควรประเมินค่าสิ่งที่ฟังด้วย
                                    - การฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การฟังประเภทนี้เป็นการฟังสื่อผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เป็นสื่อที่ผู้ฟังสามารถเลือกฟังได้ตามความต้องการของตนมากกว่าการสื่อสารประเภทอื่น เช่น บางคนชอบเลือกฟังเฉพาะเพลงลูกทุ่ง บางคนชอบเลือกฟังรายการที่มีสาระประโยชน์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การฟังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ฟังต้องรอกำหนดเวลาการส่งสัญญาณมายังเครื่องรับและฟังได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถย้อนกลับมาฟังซ้ำได้ ดังนั้น ผู้ฟังจึงต้องตั้งใจฟังและฟังอย่างมีวิจารณญาณ เนื่องจากผู้ฟังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือซักถาม

3. หลักการฟังอย่างสร้างสรรค์
            การฟังที่ดีนั้นผู้ฟังจะต้องรู้จักวิธีการฟังและการเลือกสารที่จะฟัง รวมไปถึงต้องรู้จักวิธีการเลือกสื่อในการฟังเพื่อทำให้การฟังนั้นเป็นการฟังที่สร้างสรรค์ โดยการฟังอย่างสร้างสรรค์มีหลักการดังนี้
            1. ผู้ฟังต้องศึกษาทำความเข้าใจความรู้พื้นฐานทางภาษา ความหมายของคำ สำนวน ข้อความและประโยคที่บรรยายหรืออธิบาย รวมถึงหลักของการจับใจความสำคัญ เพื่อทาให้เข้าใจสารตรงกับที่ผู้พูดต้องการสื่อสาร ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งหรือเข้าใจผิดได้
            2. ผู้ฟังต้องศึกษาประเภทของสารและสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นประเภทอะไร เป็นสารประเภทให้ความรู้ ให้ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นหรือเป็นคำทักทายปราศรัย ข่าว สารคดี จะได้จับประเด็นหรือใจความสำคัญได้ง่าย ความสามารถในการแยกแยะประเภทของสารจะทาให้ผู้ฟังเลือกฟังเรื่องที่มีสาระประโยชน์และเหมาะกับตนเองได้
       3. ผู้ฟังต้องรู้จักเลือกสื่อให้เหมาะสมและสร้างสรรค์ โดยควรศึกษาประเภทของสื่อก่อนฟัง หากฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ตหรือรายการวิทยุโทรทัศน์ ควรศึกษาชื่อเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาสาระสร้างสรรค์เพิ่มพูนความรู้ ควรเลือกที่เหมาะสมกับวัยและมีคุณค่าในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ควรเป็นรายการที่ไม่ขัดกับศีลธรรมประเพณีอันดีงาม และไม่มอมเมาทาให้เกิดความงมงาย โดยขณะที่ฟังนั้นควรวิเคราะห์ข้อความ พิจารณาภาษาภาพ การนำเสนอว่าเหมาะสมหรือไม่ น่าเชื่อถือเพียงใดไปด้วย
            4. ผู้ฟังต้องฟังอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ฟังควรฟังเนื้อหาให้ครบถ้วน พิจารณาใคร่ครวญ แยกแยะส่วนที่เป็นเหตุเป็นผล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นของผู้พูดว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และเหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติหรือไม่
            5. ผู้ฟังควรศึกษาหาความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อประกอบการทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของสารนั้นๆ

4. มารยาทในการฟัง
            มารยาทในการฟัง ถือเป็นวัฒนธรรมประจาชาติอย่างหนึ่งที่ผู้ฟังควรยึดถือและปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม การมีมารยาทในการฟังที่ดี ถือเป็นการให้เกียรติต่อผู้พูด ให้เกียรติต่อสถานที่และให้เกียรติต่อชุมชน มารยาทเหล่านี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนควรยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
            ผู้มีมารยาทในการฟังควรปฏิบัติตน ดังนี้
                1) เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยามารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง
                2) การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบเรื่อง
                3) ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนาตัวผู้พูดหรือขอบคุณผู้พูด
                4) หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เมื่อจะซักถามต้องเลือกโอกาสที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ถามด้วยถ้อยคำสุภาพและไม่ถามนอกเรื่อง
                5) ระหว่างการพูดดำเนินอยู่ควรรักษาความสงบเรียบร้อยด้วยการฟังอย่างสงบสุขุม ไม่ทำเสียงรบกวนผู้อื่น ไม่เคาะโต๊ะ ไม่ส่งเสียงโห่ฮา เป่าปาก สั่นขา กระทืบเท้า ไม่ลุกไปมาบ่อยๆ หากมีความจาเป็นต้องลุกจากเก้าอี้ควรแสดงความเคารพผู้พูดหรือประธานเสียก่อน หากเดินเข้าไปในที่ประชุมขณะที่ผู้พูดพูดอยู่ควรแสดงความเคารพผู้พูดก่อนเข้าไปนั่ง
                6) มีปฏิกิริยาตอบสนองผู้พูดอย่างเหมาะสม ไม่แสดงสีหน้าหรือกิริยาก้าวร้าว เบื่อหน่าย หรือลุกออกจากที่นั่งโดยไม่จาเป็นขณะฟัง
                7) ฟังด้วยความอดทน แม้มีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้พูดก็ควรมีใจกว้างรับฟังอย่างสงบ
                8) ไม่แอบฟังการสนทนาของผู้อื่น

หลักปฏิบัติในการฟังตามสถานการณ์ต่างๆ
1. การนั่งฟัง ผู้ฟังควรนั่งฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย ไม่เหยียดขาออกมา ไม่นั่งไขว่ห้าง หากนั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ต่อหน้าพระสงฆ์หรือผู้ใหญ่ ในขณะฟังเทศน์ควรพนมมือขณะฟังด้วย นั่งมือวางซ้อนกันบนตัก ไม่ควรพิงพนัก ตามองผู้พูด ลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่ผู้ฟังควรฝึกปฏิบัติให้เคยชิน
2. การยืนฟัง ขณะยืนฟังควรยืนตัวตรง ส้นเท้าชิด มือกุมประสานกันยกมือขึ้นเล็กน้อย ตามองผู้พูด ไม่ยืนอย่างสบายเกินไป ไม่เท้าสะเอว เท้าแขนบนโต๊ะ หรือยืนค้าศีรษะผู้ใหญ่
3. การฟังการสนทนาหรือฟังผู้ใหญ่พูดขณะเดิน ควรเดินเยื้องไปทางด้านหลังผู้ใหญ่ด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อย ไม่เปลี่ยนด้านไปมา เดินด้วยความสำรวม และตั้งใจฟัง
            หลักการฟังที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้น เป็นสิ่งที่ผู้ฟังต้องฝึกฝนและพัฒนาเพื่อการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการฟังที่มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพและปกติสุขได้

5. อุปสรรคและปัญหาในการฟัง
อุปสรรคและปัญหาในการฟังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่งผลให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง และอาจทำให้ผู้ฟังไม่สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ฟังได้ สาเหตุของอุปสรรคและปัญหาที่ทำให้การฟังไม่สัมฤทธิ์ผลสรุปได้ 5 สาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้
1. สาเหตุจากผู้ฟัง สาเหตุจากผู้ฟังส่วนใหญ่เกิดมาการขาดความพร้อมของผู้ฟังและนิสัยการฟังที่ไม่ดี เช่น ทนฟังนานๆ ไม่ได้ ขาดสมาธิ เชื่อคนง่าย ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง ขาดทักษะการจับใจความสำคัญ ไม่ชอบบันทึกข้อมูล มีปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ผู้ฟังที่ดีควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิสัยดังกล่าว และพยายามพัฒนาทักษะการฟังอยู่เสมอ อุปสรรคและปัญหาเหล่านี้ ผู้ฟังสามารถปรับให้ดีขึ้นได้เพราะเกิดมาจากตัวผู้ฟังเอง
นอกจากนิสัยการฟังแล้ว ปัญหาในการฟังอาจเกิดมาจากการที่ผู้ฟังไม่รู้จักวิธีการฟังที่ถูกต้อง อาทิเช่น ผู้ฟังบางคนฟังไม่ถูกวิธี เช่น เข้ามาฟังอาจารย์บรรยายในชั้นเรียนแต่กลับฟังแบบสบายๆ เหมือนการพักผ่อน หรือบางคนชอบฟังผ่านๆ ไม่ใช้กระบวนการคิดทำให้ความรู้ที่ได้รับมีลักษณะผิวเผิน หรือบางคนชอบประเมินค่าสิ่งที่ได้ฟังตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สาร วิเคราะห์กลวิธีพูดและบุคลิกภาพของผู้พูด ซึ่งอาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายหรือเข้าใจสารผิดวัตถุประสงค์ เช่น ผู้พูดส่งสารที่ตลกขบขันเพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่ผู้ฟังเอาแต่ประเมินค่าสารอยู่จนอาจไม่ได้รับสาระบันเทิงดังกล่าวก็ได้
2. สาเหตุจากผู้พูด ผู้พูดเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการฟังที่มีประสิทธิภาพ การฟังที่มีประสิทธิภาพนอกจากผู้ฟังจะต้องมีทักษะการฟังที่ดีแล้ว ผู้พูดควรมีทักษะการพูดที่ดีด้วยเช่นกัน หากผู้พูดมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับวิธีการพูด การนำเสนอสาร หรือบุคลิกภาพอาจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจประเด็นผิด ไม่เชื่อถือ และไม่สนใจฟังก็เป็นได้ สาเหตุจากผู้พูดพอสรุปได้ดังนี้
2.1 ผู้พูดขาดทักษะการส่งสาร เช่น ไม่สามารถถ่ายทอดความคิดหรือความรู้เป็นคำพูดได้ ไม่คุ้นเคยต่อการนำเสนอต่อหน้าที่ประชุมชน ฯลฯ
2.2 ผู้พูดรู้สึกประหม่า ตื่นเต้น หรือกลัวจนพูดไม่ออกหรือพูดติดขัด ซึ่งอาจทำให้ฟังแล้วเข้าใจยากและอาจทำให้ไม่อยากฟัง
2.3 ผู้พูดกังวลเรื่องเนื้อหาที่จะพูดยังไม่สมบูรณ์ ปัญหานี้อาจทำให้ผู้พูดขาดความมั่นใจจนทาให้การถ่ายทอดสารขาดประสิทธิภาพ ส่วนผู้ฟังจะได้รับสารไม่ครบถ้วนหรืออาจเข้าใจสารผิดไปได้
                        2.4 ขาดบุคลิกภาพที่ดีขณะพูด บุคลิกภาพที่ดีจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้พูดได้ การขาดบุคลิกภาพจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกสงสัยและไม่เชื่อถือสิ่งที่ผู้พูดพูด
3. สาเหตุจากสาร สาเหตุจากสารส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้ฟังไม่เข้าใจสาร โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ พอสรุปสาเหตุจากสารคร่าว ๆ เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
3.1 สาเหตุจากเนื้อหา ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่มาจากเนื้อหาของสารมักจะเกิดจากสารที่เข้าใจยาก สารที่มีความซับซ้อนและลึกซึ้งมาก หรือมีตาราง แผนภูมิ กราฟที่เข้าใจยาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ฟังไม่เข้าใจหรือเข้าใจสารผิดก็ได้
3.2 สาเหตุจากภาษา ภาษาที่ปรากฏในสารนั้นอาจทาให้เกิดปัญหาได้ โดยสารนั้นมีคำศัพท์เฉพาะมากเกินไป เป็นศัพท์ที่ไม่ได้ใช้อยู่ทั่วไป หรือใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศมากเกินไปหรือบทกวีที่เข้าใจยากซึ่งอาจทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจสาร เกิดความรู้สึกงุนงงก็เป็นได้
ปัญหาการฟังที่มีสาเหตุมาจากสารข้างต้นนี้ ส่งผลให้ผู้ฟังไม่สามารถจับประเด็นหรือเข้าใจเรื่องที่ฟังได้ทั้งหมด และอาจทาให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อหน่ายได้อีกด้วย
4. สาเหตุจากสื่อ สื่อ คือ วิธีทางหรือช่องทางการนำเสนอสารของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร สื่อมีหลายประเภท เช่น สื่อที่เป็นบุคคล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อทางธรรมชาติ เป็นต้น หากสื่อเกิดขัดข้องหรือด้อยคุณภาพ เช่น ไมโครโฟนเสียงขาดหายเป็นช่วงๆ หรือโทรทัศน์พร่ามัว สัญญาณไม่ดี หรือบุคคลที่ที่ฝากสารไปส่งต่อเข้าใจสารผิด ฯลฯ จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารไม่เข้าใจสาร ส่งผลให้การสื่อสารขาดประสิทธิภาพ

5. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นส่วนที่ช่วยสร้างบรรยากาศในการฟัง แต่หากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟังได้ เช่น แสงสว่างน้อยเกินไป อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินไป ร้อนหรือหนาวเกินไป เป็นต้น
อุปสรรคและปัญหาในการฟังข้างต้น อาจทำให้ประสิทธิภาพในการฟังลดน้อยลง ทั้งนี้ปัญหาบางปัญหาไม่ได้เกิดมาจากผู้ฟัง ทว่าผู้ฟังควรเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการฟังที่มาจากผู้ฟังเอง เป็นสิ่งที่ผู้ฟังควรแก้ไขและเป็นสิ่งที่แก้ไขได้เพราะเกิดจากตัวผู้ฟังเอง

สรุป
            การฟังเป็นทักษะที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ทั้งปวง เป็นทักษะแรกที่มนุษย์ใช้เรียนรู้วิธีการพูด ทาให้เกิดการเลียนแบบการพูดส่งผลให้มนุษย์สามารถพูดจาสื่อสารกันได้ บุคคลที่ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพจะทาให้การสื่อสารสัมฤทธิผล ช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคล และระหว่างคนในสังคม อันจะทาให้ประเทศชาติบ้านเมืองมีความสงบสุข ทักษะการฟังที่ดียังจะนามาซึ่งความสำเร็จในชีวิต เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญของทักษะการเข้าสังคม เพราะจะสามารถลดความเข้าใจผิดและความขัดแย้งในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การฟังที่ดีผู้ฟังจึงต้องฝึกทักษะการฟังของตนอย่างสม่ำเสมอ


1 ความคิดเห็น: